ชามตราไก่ หรือ ถ้วยก๋าไก่ ลำปาง

ดินขาวลำปางสู่ชามตราไก่

ชามตราไก่ หรือ ถ้วยก๋าไก่

เป็นที่รู้จักมายาวนานว่าชามตราไก่ต้องมาจากลำปาง หลายๆคนเมื่อเห็นชามตราไก่ก็จะทราบได้เลยว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวลำปาง เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนของจังหวัดนี้  ก็จะสังเกตเห็นได้ว่ามีสัญลักษณ์ของชามตราไก่อยู่ทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ชามตราไก่  ในร้านขายอาหาร  ร้านก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ    ร้านขายเซรามิคมีรูปไก่ปรากฏและกระจายอยู่ทั่วจังหวัดนี้กันเต็มไปหมด ด้วยคุณภาพของตัวชามเองที่ทำให้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและเป็นจุดขายของจังหวัดลำปาง

การค้นพบครั้งสำคัญ ชามตราไก่นั้นมีกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศจีน    โดยชาวจีนแคะ ตำบลกอปี  อำเภอไท้ปู  มณฑลกวางตุ้ง ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานและมาค้นพบดินขาวที่บ้านปางค่า อ.แจ้ห่มของลำปางหนึ่งในนั้นคือ นายซิมหยู แญ่ฉิน และมีความเชี่ยวชาญในการทำชามไก่โดยลักษณะดั้งเดิมนั้นเป็นเพียงชามสีขาวไม่มีลวดลายอะไร  ก่อนที่จะนำมาส่งเพื่อเขียนลวดลายเผาสีและเคลือบที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว  แล้วจึงนำออกขายและกลายเป็นชามตราไก่อย่างที่เราเห็นกันในทุกวัน  โดยชามตราไก่ที่เมืองไทยนี้มีที่มาจากชาวจีนกลุ่มหนึ่งจากเมืองไท้ปูที่รอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย  และได้นำความรู้ภูมิปัญญาเรื่องการทำชามตราไก่ติดตัวเข้ามาด้วย เมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้มีโอกาสเดินทางมาที่จังหวัดลำปางพวกเขาก็พบว่า  ดินในจังหวัดแห่งนี้เป็นดินดีเหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา  พวกเขาจึงตัดสินใจเปิดโรงงานทำชามตราไก่ขึ้นมา  และได้ถ่ายทอดวิชาในการผลิตชามตราไก่  รวมไปถึงการผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิคที่เราเรียกขานกัน  “ชามตราไก่” จึงได้เข้ามาปรากฏโฉมในเมืองไทยด้วยเหตุนี้

ดั้งเดิม ชามไก่รุ่นแรกเป็นชามไก่ที่เป็นสีขาว ไม่มีลวดลาย เผาในเตามังกรที่สร้างด้วยมือ หลังจากนั้นได้นำมาเขียนลวดลายเผาสีบนเคลือบ เผาในเตามังกรมีลดลายขึ้นมา จะเห็นได้ว่า ชามตราไก่ มีลวดลายที่องค์ประกอบที่งดงามมีความหมาย เช่น ไก่ เป็นที่เพศผู้แสดงความเป็นผู้นำ ดอกไม้แสดงสื่อถึงเพศหญิง มีต้นกล้วย และต้นหญ้าแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ สเน่ห์ชามตราไก่แบบดั้งเดิมจะมีลักษณะทรงแปดเหลี่ยม มีฐานหรือขาชามที่ทำเพื่อใช้งานจับได้ถนัดมือและป้องกันกันความร้อนของอาหาร

กว่า 50 ปีที่ผ่านมาชามตราไก่อยู่คู่จังหวัดลำปางและชาวไทย  และมีคุณภาพกับชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับมาโดยตลอด  ในปัจจุบันชามตราไก่นั้นไม่เพียงแต่มีการส่งขายไปตามที่ต่างๆในประเทศเท่านั้น  แต่ยังส่งไปขายที่ต่างประเทศนำเม็ดเงินจำนวนมากมายเข้ามาสู่ประเทศไทยของเรา  ในทุกวันนี้ไม่ได้มีการผลิตแต่ชามตราไก่อีกต่อไปแล้ว  แต่มีโรงงานน้อยใหญ่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตเซรามิคในรูปแบบอื่นๆตามความนิยมของท้องตลาดที่ปรับเปลี่ยนไป  ไม่ว่าจะเป็นจาน  ถ้วย  โถ  แจกัน  แก้วกาแฟ  ชุดเครื่องครัว  ชุดเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร  ชุดกาแฟ  ชุดชา  ไปจนถึงงานศิลปะประเภทตุ๊กตา  กระปุกออมสิน  และงานศิลปะลอยตัวต่างๆเพื่อนำไปประดับตกแต่ง  ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน

ชามตราไก่ลำปาง เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยิ่ง และที่สำคัญเป็นวิถีชีวิตของคนลำปางที่ถูกส่งผ่านเรื่องราวเป็นสเน่ห์ที่ให้ใครๆ ก็รู้จักลำปางเมืองชามตราไก่

ชามตราไก่ มี 2 รูปแบบ

1.วาดสีใต้เคลือบ ปั้นชามไก่ วาดลวดลาย แล้วนำไปเผา

2.วาดสีบนเคลือบ ปั้นชามไก่ นำไปชุบเคลือบ นำไปเผา แล้วนำมาวาด และนำไปอบสีอีกครั้ง

ถ้าความประสงค์ที่จะเลือกซื้อจานชามเซรามิคที่มีคุณภาพจากฝีมือคนไทยด้วยกันเอง  อย่าลืมไปแวะชมแวะเชียร์และซื้อหา “ชามตราไก่” กันได้ที่จังหวัดลำปาง  รับรองว่าท่านจะได้เพลิดเพลินกับการชมวิธีการผลิต  ทั้งการขึ้นรูป  การจุ่มชุบสี  การเขียนลายไก่ที่เลื่องชื่อ  หรือแม้แต่สามารถลองเขียนลายบนชามของท่านด้วยตัวท่านเอง(ในบางโรงงาน)  ตลอดจนได้ชมขั้นตอนผลิตขึ้นสุดท้ายคือการเคลือบเซรามิคก่อนนำไปเผา   ซึ่งขอบอกเลยว่าท่านจะได้รับความประทับใจรวมถึงได้ของฝากที่ใครเห็นก็ชื่นใจอย่างแน่นอน

 

 

ก๋วยเตี๋ยวตองตึง (ลำปาง)

เที่ยงแล้วกินอะไรดี…..วันนี้ขอแนะนำเมนู ก๋วยเตี๋ยวแห้งตองตึง

ร้านก๋วยเตี๋ยวตองตึง ร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในการใช้ใบตองตึงและใบตองสดมาห่อก๋วยเตี๋ยวแห้ง ร้านนี้ต้องทานก๋วยเตี๋ยวแห้งจะได้ห่อด้วยใบตองตึง ความแปลกอยู่ที่การนำใบตองตึง มาห่อก๋วยเตี๋ยว เป็นแบบโบราณ และรสชาติของก๋วยเตี๋ยวยังอร่อยอีกด้วย

สั่งแห้งปุ้บได้นำ้ซุปปั้บไม่ต้องขอเพิ่มจ้า แพคเกจก็ดูสวยเก๋ไก๋ดีออกแนวโบราณๆ
สั่งแห้งปุ้บได้นำ้ซุปปั้บไม่ต้องขอเพิ่มจ้า แพคเกจก็ดูสวยเก๋ไก๋ดีออกแนวโบราณๆ

ต้นตองตึงเป็นไม้ป่ายืนต้นใบคล้าย้นสักหรือต้นชาดในภาคอีสาน แต่ใบตองตึงไม่มีขน ใบที่ยังไม่แก่คนในภาคเหนือนิยมเก็บมาห่อของ เช่น ห่อข้าวห่อ ห่อของคล้ายใบตอง หรือใบบัวในภาคกลาง ใบตองตึงเมื่อแก่จะหล่นจากต้น ชาวบ้านนำมาทำเป็นตับมุงหลังคากระท่อมคล้ายจากหรือแฝก มีความทนทานได้ 4-5 ปี

สถานที่ ตั้งอยู่บ้านเหมู่ 2 บ้านวังหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ร้านอยู่ข้างในซอยตรงข้ามวัดเจดีย์ซาว จะมีป้ายเล็กๆอยู่ข้างทาง อย่าขับรถเร็วนะเดี๋ยวเลย เข้ามาในซอยจะมีป้ายบอก ตามเข้ามาก็จะเจอร้านแล้ว จอดรถตรงข้างๆรั้วเลย

เมนูแนะนำก๋วยเตี๋ยวแห้งห่อใบตอง ธรรมดาราคา 35 บาท พิเศษ 40 บาทมีทั้งเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่, เส้นเล็ก. เส้นบะหมี่, เส้นหมี่ขาว, วุ้นเส้น, เส้นมาม่า มีทั้งหมูและเนื้อ ให้เลือก

ก๋วยเตี๋ยวตองตึง

เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่พริกแดงน้ำกับเส้นใหญ่แห้ง ก๋วยเตี๋ยวรสชาติออกหวานไม่มาก แต่ก็อร่อยดี ไม่ปรุงรสก็ทานได้ ผักสดกับน้ำเปล่าก็ฟรี

บรรยากาศที่ร้านโล่งสบายนะคะ ถึงแม้ซอยทางเข้าร้านเป็นซอยเล็กฝั่งตรงข้ามทางเข้าวัดเจดีย์ซาวฯ  จอดข้างทางแอบๆนิดนึงนะคะ รอค่อนข้างนาน ยิ่งตอนเที่ยง วันเสาร์ อาทิตย์ คนจะเยอะมาก

ร้านก๋วยเตี๋ยวตองตึง เปิดให้บริการ เวลา : 08.30 – 15.00 น.   เบอร์โทรศัพท์ 081-5958319 สามารถโทรสั่งก่อนได้

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดลำปาง ร่วมงานประเพณี”งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า”

งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า

งานประเพณี “งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า” ประจำปี 2563  ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2563  ณ สถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง   ซึ่งในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563     ถือเป็นวันครบรอบวันเกิด 109 ปี ของหลวงพ่อเกษม เขมโก การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการระลึกถึงคุณงามความดี คำสอนหลวงพ่อเกษม เขมโก ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก

กิจกรรมในงาน

  • วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 16.00 น. เชิญประชาชนร่วมชมขบวนอัญเชิญเครื่องสักการะหลวงพ่อเกษม เขมโก แบบโบราณที่หาชมได้ยาก จำนวน 20 ขบวน อย่างยิ่งใหญ่ จากทุกตำบล และเวลา 18.00 น.มีพิธีเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2563  ตั้งแต่เวลา 09.00 น.จะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล     สวดพระพุทธมนต์ ครบรอบ วันเกิดหลวงพ่อเกษม เขมโก เวลา 20.00 น. เชิญร่วมรับฟังพระธรรมเทศนา และพิธีสวดพระอภิธรรม เพื่อบูชาคุณพระอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก
  • หลวงพ่อเกษม เขมโกวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 06.30 น. จะพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ จำนวน 109 รูป เวลา 20.00 น. ร่วมกันฟังพระธรรมเทศนา และพิธีสวดพระอภิธรรม เพื่อบูชาคุณพระอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก
  • วันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2563 ชมนิทรรศการประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก และ ราชวงศ์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และ การจำหน่ายสินค้าสินค้า OTOP ของดีในพื้นที่จังหวัดลำปาง การจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ของกลุ่มอาชีพจาก อปท. ในพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง

งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า

สำหรับงานในปีนี้ ผู้ที่จะเดินทางมาร่วมงานขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเว้นระยะห่างระหว่างกัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อไป.

วัดพระธาตุม่อนพญาแช่

วัดม่อนพระยาแช่

วัดม่อนพระยาแช่ ตั้งอยู่บนเนินเขาชื่อ “ม่อนไก่เขี่ย” ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2353 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2501 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดมีเนื้อที่ 350 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุม่อนพระยาแช่

วัดม่อนพระยาแช่ แต่เดิมไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ประจำ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 พระครูศรีปริยัติกิติ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดม่อนพระยาแช่ ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดลำปาง ได้แต่งตั้งพระครูประโชติคณารักษ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดม่อนพระยาแช่ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2522 และวัดม่อนพระยาแช่ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา ต่อมาโครงการชลประทานลำปาง ได้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขึ้นที่ด้านหลัง วัดม่อนพระยาแช่ เพื่อกักเก็บน้ำใว้ใช้ในวัด และในปี พ.ศ. 2524 จังหวัดลำปาง ได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางตลอดสาย จากถนนพหลโยธินจนเข้าถึงวัดม่อนพระยาแช่ รวมระยะทาง 5 กิโลเมตร

วัดม่อนพระยาแช่

วัดม่อนพญาแช่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ตรงเชิงเขา อยู่ในเขตวนอุทยานม่อนพญาแช่ มีอ่างเก็บน้ำอยู่ด้านล่าง ส่วนพระธาตุตั้งอยู่บนยอดเขาเห็นโดดเด่นแต่ไกล องค์พระธาตุไม่ปรากฏอายุการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณไม่ต่ำกว่าพันปี มีบันไดขึ้นไปยังพระธาตุมีจำนวนถึง 585 ขั้น ลักษณะบันไดเป็นแบบบันไดนาคคล้ายกับวัดพระธาตุดอยสุเทพที่เชียงใหม่ แต่เล็กและสูงกว่าเมื่อไปถึงด้านบนสุดจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล

วัดม่อนพระยาแช่

เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดลำปาง -ตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานม่อนพญาแช่ -มีพราตุตั้งอยู่บนยอดเขา มีทิวทัศน์สวยงาม -เป็นวัดที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมวัดม่อนพระยาแช่

 

ศาลหลักเมืองลำปาง (LAMPANG CITY PILLAR SHRINE)

ศาลหลักเมืองลำปาง     การสร้างหลักเมืองตามประเพณีโบราณที่นิยมสร้างหลักเมืองไว้ เป็นมิ่งขวัญ เป็นนิมิตมงคล สำหรับให้รู้ว่าหลักบ้านหลักเมืองมีอยู่ที่ไหน บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็นชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลศาลหลักเมืองลำปาง

ศาลหลักเมืองลำปางปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : หน้าศาลากลาง (หลังเก่า) ฝั่งตรงข้ามกับตลาดสดเทศบาล ๑ ถนนไปรษณีย์  ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

 

ศาลหลักเมืองลำปางมีคำบอกเล่าจากปู่ย่าตายายมาช้านานแล้วว่า ถ้าอยากที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ต้องไปสักการบูชาศาลหลักเมือง และในโอกาสปีใหม่ขอถือโอกาสไปไหว้พระศาลหลักเมือง เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ในหน้าที่การงาน การเงิน ค้าขาย และ ชีวิตความเป็นอยู่ให้เจริญรุ่งเรือง

ศาลหลักเมืองลำปางทำไมต้องมีเสาหลักเมืองลำปางต้องมี 3 หลัก แต่จังหวัดอื่นๆส่วนใหญ่มีหลักเดียว… ???

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดลำปาง  เสาหลักเมืองของจังหวัดลำปางเป็นเสาไม้สัก มีด้วยกัน  ๓  หลัก ได้แก่

เสาหลักเมืองหลักแรก สันนิษฐานว่าคือเสาต้นเล็กที่สุด ตามประวัติระบุว่าในปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ เจ้าวรญาณรังษีราชธรรม พร้อมด้วยครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุนี และพระเถระ ๔ รูป รวมถึงพ่อเมืองทั้งสี่ ได้ฝังเสาหลักเมืองหลักแรกของเมืองลำปางนี้ ณ วัดปงสนุก ซึ่งถือเป็นวัดสะดือเมือง หรือวัดศูนย์กลางเมืองเขลางค์ยุคที่สอง

เสาหลักเมืองหลักที่สอง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าพรหมาธิพงษ์ธาดา ราวปีพุทธศักราช  ๒๔๑๖โดยมีการฝังหลักเมืองหลักนี้ ณ ฝั่งเมืองใหม่ ซึ่งก็คือหลังจากการย้ายศูนย์กลางเมืองจากฝั่งตะวันตกมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวัง บริเวณคุ้มเจ้าราชวงศ์

เสาหลักเมืองหลักที่สาม สร้างราวปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ สมัยเจ้านรนันท์ชัยชวลิต ต่อมา เมื่อการสร้างศาลากลางจังหวัดแล้วเสร็จ จึงได้อัญเชิญหลักเมืองทั้งสามมาไว้ ณ ที่แห่งนี้ กระทั่งมีการสร้างมณฑปครอบในปีพุทธศักราช  ๒๕๑๑ ตรงกับสมัยนายสุบิน เกษทอง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในยุคนั้นยังมาร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์

ศาลหลักเมืองลำปาง
คาถาบูชาองค์พระหลักเมือง

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • ธูป 3 ดอก
  • เทียน 1 เล่ม
  • ทองคำเปลว /ทองคำแผ่น
  • ดอกบัว 2 ดอก
  • พวงมาลัย 2 พวง
  • ผ้าแพร 3 สี

วิธีการไหว้ศาลหลักเมือง

วิธีการไหว้นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากมายเลย โดยเริ่มจากการไหว้พระที่หอพระพุทธรูปก่อน แล้วทำการปิดทอง ผูกผ้าแพรที่องค์พระหลักของเมืองจำลอง และนำพวงมาลัยไปถวายหลักเมืององค์จริง จากนั้นให้ถวายพวงมาลัยแก่องค์เทพารักษ์ทั้ง 5 พร้อมเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด จากนั้นให้อธิษฐานขอพรและท่องคาถาบูชาองค์พระหลักเมือง ดังนี้

…ท่องนะโม 3 จบ…

ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง
สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ

ข้อดีการไหว้ศาลหลักเมือง

  1. เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงในชีวิต ให้ชีวิตราบรื่น มีความสุขสมหวัง พบเจอแต่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ไร้ซึ่งอุปสรรคใดๆ ทั้งปวง
  2. เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงด้านการงาน บางคนอาจจะกราบไหว้ขอพรขอให้การงานมั่นคง ก้าวหน้า ได้เลื่อนยศเลื่อนขั้นตำแหน่งต่างๆ หรือแม้แต่ขอให้ได้งานตามที่ชอบที่หวังไว้
  3. เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล เสริมพลังบุญ และทำให้มีพลังกาย พลังใจที่เข้มแข็งและมั่นคง สามารถฝ่าฟันและเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตไปได้

มิวเซียมลำปาง (Museum Lampang)

มิวเซียมลำปางมิวเซียมลำปาง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง อีกทั้งยังเป็นอีกทางเลือกในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สามารถมาแสวงหาความรู้ และความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

มิวเซียมลำปาง“มิวเซียมลำปาง” ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนครลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงลำปางในอนาคต การเปลี่ยนผ่าน และเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน และสุดท้ายในหัวข้อ ลำปางมิวเซียมได้สำรวจและเก็บรวบรวมทั้งความเหมือนและแตกต่างทุกๆ ด้าน เพื่อตามหาลำปางแต้ๆทุกซอกทุกมุมจากทั้ง 13 อำเภอ นำมาจัดแสดงด้วยรูปแบบที่ทันสมัยผสมผสานเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ

มิวเซียมลำปางการมาเที่ยวและเรียนรู้ในมิวเซียมลำปาง ถือเป็นจุดศูนย์กลางที่ได้รวมทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับจังหวัดลำปางมาไว้ในที่เดียว ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเข้าใจในความเป็นมาของจังหวัดลำปาง ก่อนจะนำความรู้ที่ได้รับหลังชมมิวเซียม ไปต่อยอดในการเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวของจริง ซึ่งเหมาะสำหรับคนในพื้นที่ และแม้แต่นักท่องเที่ยวก็ไม่ควรพลาดที่จะแวะเข้าไปสัมผัสกับเรื่องเก่าที่นำมาเล่าใหม่ ผ่านรูปแบบของเทคโนโลยี และการจัดโซนแสดงอย่างน่าสนใจ

มิวเซียม ลำปางมิวเซียมลำปางการจัดแสดง นิทรรศการถาวร “คน เมือง ลำปาง” อยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร   ห้องแรกจะพบกับรูปปั้นวิวัฒนาการของมนุษย์

มิวเซียมลำปางมิวเซียมลำปางการจัดแสดงเปิดตำนานอ่านลำปาง ตำนานเป็นอีกเรื่องราว เล่าขานตั้งแต่บรรพกาลลำปางดินแดน เรื่องราวหลายพันปี ซึ่งมิวเซียมลำปาง ได้นำเสนอรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ที่เล่าเรื่องราวตำนาน ผ่าน ๑๓ อำเภอ มีเรื่องราวนิทานของวัดต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง มีหนังสือขนาดใหญ่ และมีหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เด็กๆได้สัมผัสการ์ตูนนิทาน เพื่อดึงดูดความสนใจชวนให้เด็กๆ น่าอ่านประวัติของวัดในจังหวัดลำปาง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงเกี่ยวกับซุ้มประตูโขง และศิลปวัตถุโบราณ

มิวเซียมลำปางมิวเซียมลำปางการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ แง้มป่องส่องเวียง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไก่ หนึ่งในสัญลักษณ์คู่เมืองลำปาง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงเรื่องราวจุดเปลี่ยนเมืองลำปาง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงสถานีรถไฟจังหวัดลำปาง เป็นภาพสถานีรถไฟนครลำปางในอดีต

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับรถม้า หนึ่งในสัญลักษณ์คู่เมืองลำปาง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงพอดีพองามอารามลำปาง

มิวเซียมลำปางการจัดแสดงเรื่องราวสำเนียงลำปาง ถ้าเราเข้าไปกดจะทำให้เรารู้ว่าแต่ละอำเภอของจังหวัดลำปางจะมีภาษาพูด (กำเมืองลำปาง) ที่มีสำเนียงแตกต่างกันออกไป

การจัดแสดงต้นน้ำ

มิวเซียมลำปาง

ข้อปฏิบัติตามมาตรการให้บริการมิวเซียมลำปาง สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด -19 โดยปฏิบัติดังนี้
1. ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนเข้าเยี่ยมชม
2.ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ณ จุดบริการ ทุกครั้ง
3.หากมีอาการไอหรือจาม / พิจารณาแล้วว่ามีความเสี่ยง ขออนุญาตงดให้เข้าเยี่ยมชมในพื้นที่

มิวเซียมลำปางมิวเซียมลำปางแลนด์มาร์คท่องเที่ยวแห่งใหม่ในลำปาง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเช็คอิน-ถ่ายภาพวันวานของเมืองลำปางที่สวยงาม

มิวเซียมลำปางตั้งอยู่ที่ ถนนไปรษณีย์ ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง (ศาลากลางจังหวัดลำปางเดิม)

เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 – 17.00 น. (ปิดวันจันทร์)  ปิดให้บริการเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ *เวลา 12.00 น. – 13.00 น.*  ค่าเข้าชมฟรี

“มิวเซียมลำปาง” แลนด์มาร์คใหม่เมืองรถม้า

ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ลำปาง

 ข้าวแต๋นน้ำแตงโม   ถือว่าเป็นของฝากของชาวลำปาง ข้าวแต๋น เป็นขนมพื้นบ้านขนมโบราณของคนเหนือ  ที่ใช้วิธีการทำแบบแปรรูปจากข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวดำตากแห้ง โดยใช้ข่าวเหนียวเก่ามาทำ  เพราะทำให้ข้าวเวลาทอดจะพอง กรอบนาน แล้วราดด้วยน้ำอ้อย  สามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งจากสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันก็มีการพัฒนาสูตรการทำข้าวแต๋นในรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มความอร่อย

ล่าสุดที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน มีการนำเนื้อแตงโมงมาปั่นและกรองเอาแต่น้ำมาผสม(มูล)กับข้าวเหนียวที่นึ่งสุก จึงมีการเรียกสูตรนี้ว่า ข้าวแต๋นน้ำแตงโม

ข้าวแต๋นน้ำแตงโม

นอกจากนี้มีการตกแต่งข้าวแต๋นให้เกิดคุณค่าทางอาหารมากขึ้นโดยจากสูตรดั้งเดิมแล้วจะมีราดน้ำอ้อยธรรมดาก็พัฒนาเป็นราดด้วย ถั่วลิสง ถั่วเขียว  งาดำ งาขาว สาหร่าย หมูหยอง ตะไคร้ ใบเตย และอื่นอีกมากมาย มีให้เลือกหลายยี่ห้อ หลายราคา

“ข้าวแต๋น” เป็นภาษาเหนือ ภาษากลาง เรียกว่า “ขนมนางเล็ด”

ความแตกต่างระหว่างข้างแต๋นน้ำแตงโม กับข้างแต๋นธรรมดา

ข้าวแต๋นน้ำแตงโมลำปาง

  1. ราคา ข้าวแต๋นธรรมดาถุงละ 20 บาท มี 20 ชิั้น ส่วนข้าวแต๋นน้ำแตงโม ถุงละราคา 35 บาท มี 15 ชิั้น
  2. รสชาติ กรอบ หอม อร่อย ข้าวแต๋นน้ำแตงโม จะมีรสชาติความกรอบหอมอร่อยกว่าข้าวแต๋นธรรมดา
  3. การเก็บรักษา ข้าวแต๋นน้ำแตงโม สามารถเก็บได้นานกว่าข้าวแต๋นธรรมดา
  4. บรรจุภัณฑ์ ข้าวแต๋นน้ำแตงโมจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดีและสวยงามกว่า สามารถนำไปเป็นของฝากของชาวลำปางได้

โรตีสายไหม ตาเหลือ ลำปาง

ร้านโรตีสายไหม ตาเหลือ

โรตีสายไหม ตาเหลือ เป็นที่รู้จักกันดีของคนลำปาง ธุรกิจเล็กๆของครอบครัวศรีสุระ เปิดขายมานานกว่า 34 ปี (เมื่อปี พ.ศ.2528) ปัจจุบันทายาทรุ่นที่ 2 ดำเนินกิจการ นายบุญเหลือ ศรีสุระและภรรยาได้รับเลือกจากจังหวัดเชียงใหม่ ให้ทำโรตีสายไหมถวายแด่กรมสมเด็จพระเทพฯได้ทรงเสวย เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2554 และในปี พ.ศ.2559 ได้รับเลือกเป็น”ของดีจังหวัดลำปาง” หรือ “Product quality from Lampang” จากหอการค้าประจำจังหวัดลำปาง

ร้านโรตีสายไหมตาเหลือ

ทำใหม่ๆ สดๆ ทุกวัน ไม่ใช้วัตถุกันเสีย / ไม่เจือสี / ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ 100 %                ขายปลีกและขายส่ง
โรตีสายไหม ตาเหลือ
เจ / มังสวิรัติ / ฮาลาล เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีตลอด 34ปี
โรตีสายไหม
ส่วนผสม แป้งสาลี เกลือสมุทร น้ำเปล่า น้ำตาลทราย น้ำมันพืช

 

แผนที่โรตีสายไหมตาเหลือ

โรตีสายไหม ตาเหลือ ปัจจุบันย้ายร้านมาอยู่ที่ซอบ 4 ถนนจามเทวี อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองของชาวเหนือ มาจากไหน

แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยประเภทแกงรสชาติเค็ม-เปรี้ยว แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า ฮี่น ในภาษาพม่าแปลว่า แกง และ เล่ ในภาษาพม่าแปลว่า เนื้อสัตว์ แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือและแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน นอกจากนี้การทำสงครามระหว่างไทยล้านนากับพม่าในสมัยก่อนนั้น มีส่วนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารผลัดกันแพ้ชนะและผลัดกันกวาดต้อนผู้คนของแต่ละเมืองไปยังบ้านเมืองตน เกิดการรับวัฒนธรรมการกินเข้ามา แกงฮังเล

วิธีทำฮังเล

วิธีปรุงแกงฮังเลมีสองแบบคือแบบพม่าและแบบเชียงแสน โดยแบบพม่าได้รับความนิยมมากกว่า แกงฮังเลพม่ารสชาติออกเปรี้ยวเค็ม น้ำขลุกขลิก ใส่ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อย ส่วนแกงฮังเลเชียงแสนเพิ่มถั่วฝักยาว พริก หน่อไม้ดอง งาคั่ว ส่วนประกอบสำคัญจะต้องมีผงแกงฮังเลหรือผงมัสล่าซึ่งเป็นผงเครื่องเทศแบบผสมแบบเดียวกับการัม มาซาลาของอินเดีย น้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกแห้ง เกลือ ข่าแก่ ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง แกงฮังเลแบบไทใหญ่ น้ำขลุกขลิกและกินกับมะม่วงสะนาบซึ่งเป็นมะม่วงสับ ยำกับกะปิคั่ว กุ้งแห้งป่น และกระเทียมเจียว ตำรับดั้งเดิมของพม่า แต่เมื่อมาเป็นอาหารไทยได้ถูกดัดแปลงผิดแปลกไปจากเดิม จากที่เคยมีพริกแกงแห้ง ผงแกงฮังเล มะเขือเทศ และเนื้อสัตว์ คนไทยนำมาประยุกต์ให้ถูกปากโดยเติมเครื่องเทศบางอย่างลงไป คือ พริก หอม กระเทียม กะปิ ข่า ตะไคร้ โขลกละเอียดเคล้ากับเนื้อหมูสามชั้น ผงฮังเล และซีอิ้วดำ นำมาผัด เติมน้ำ ใส่มะขามเปียก น้ำตาล กระเทียมดอง และขิงลงไป แกงฮังเลไทยจึงแตกต่างจากแกงฮังเลของพม่า

แกงฮังเล เป็น ถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือ โดยจะมี สูตรแกงฮังเล หลายสูตรไม่ว่าจะเป็น แกงฮังเลสูตรพม่า หรือ แกงฮังเล เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง ทั่วไปจะนิยมทำ แกงฮังเลหมูหรือสะดวกเป็นเนื้อวัวก็ตามชอบ

แกงฮังเล

แกงฮังเลจัดว่าเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของชาวล้านนา
ถือว่าเป็นอาหารมงคลชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง
ชาวบ้านจึงนิยมนำไปถวายพระเนื่องในโอกาสวันสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน

 

ถนนคนเดิน “กาดกองต้า” ในสถานการณ์ COVID-19

กาดกองต้า

กาดกองต้า ตลาดถนนคนเดินของจังหวัดลำปาง ในสถานการณ์ COVID-19 ต้องเดินในวัน เสาร์-อาทิตย์  17.00 – 22.00 น.  ได้เปิดให้ดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติแล้ว หลังจากปิดไปในช่วง เมษายน – พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันช่วงวันเสาร์ – วันอาทิตย์ พ่อค้าแม่ค้า จะนำสินค้ามาวางจำหน่ายเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น อาหารและขนมอีกนานาชนิด รวมทั้งสินค้าทำมือ เสื้อผ้า ตุ๊กตา รองเท้า กระเป๋า กรอบรูป ของที่ระลึก ฯลฯ

กาดกองต้า

โดยมีแนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ใช้บริการ ในสถานการณ์ COVID-19 ดังนี้

1.  หากท่านมีอาการ ป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้งดการใช้บริการที่ตลาด

2. ควรวางแผนการซื้อสินค้าที่ต้องการล่วงหน้า เพื่อซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว

3. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

4. ควรล้างมือแอลกอฮอล์เจล หรือสบู่ ก่อนและหลังการใช้บริการในตลาด

5. ระหว่างรอคิวและชำระเงินครเว้นระยะห่างอย่างน้อง 1 เมตร

แนวทางปฏิบัติกาดกองต้า covid-19

อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลำปาง ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเดินชมอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมอันสวยงาม ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี แล้วหากว่าได้มาเที่ยวที่กาดกองต้าในวันเสาร์และอาทิตย์ ก็จะได้พบกับ “ถนนคนเดินกาดกองต้า”                                  กาดกองต้าลำปาง

โดยจะมีการปิดถนนตลอดสายไม่ให้รถวิ่งผ่าน และคลาคล่ำไปด้วยพ่อค้าแม่ขาย มาออกร้านตั้งขายสินค้ามากมาย รวมถึงยังมีอาหารมากมายให้ได้เดินชิม เดินชอปตลอดเส้นทาง มีความคึกคักเป็นอย่างมาก มีอาหารที่น่าสนใจ และน่ากินให้ได้ลองตามไปชิมกันมากมาย อาทิ ไข่ป่าม ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวปั้นโบราณ กุยช่ายทอด เป็นต้นกาดกองต้าลำปาง

บรรยากาศถนนคนเดินกาดกองต้า
#ท่องเที่ยวกาดกองต้าปลอดภัย ห่างไกล COVID-19